E-Goverment
การก้าวไปสู่ E-Goverment จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการทำงาน และการให้บริการของภาครัฐ เพื่อให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นกว่าเดิม ประเทศต่างๆทั่วโลกได้ให้ความสำคัญกับการก้าวไปสู่การเป็น E-Goverment และมีกาประกาศเป็นนโยบายอย่างเป็นทางการสำหรับในประเทศไทย ได้มีการกล่าวถึงตั้งแต่ในกฎหมายสูงสุดของประเทศ คือ รัฐธรรมนูญฯ ในมาตรา 78 หรือ แผนสภาพัฒน์ฯ ฉบับที่ 8 ที่กล่าวถึงการนำไอทีมาใช้เพื่อเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานของรัฐกับภาคเอกชน เพื่อการบริหารและการบริการที่มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ แผนไอทีแห่งชาติเองก็ระบุว่า หน่วยงานของรัฐต้องลงทุนให้พร้อมด้วยไอทีและบุคคลากรที่มีศักยภาพในการใช้ไอที
ความหมาย E-Goverment
E-Goverment หรือ รัฐอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วยหลักการที่เป็นแนวทาง 4 ประการ คือ
1. สร้างบริการตามความต้องการของประชาชน
2. ทำให้รัฐและการบริการของรัฐเข้าถึงได้มากขึ้น
3. เกิดประโยชน์แก่สังคมโดยทั่วกัน
4. มีการใช้สารสนเทศที่ดีกว่าเดิม
E-Government คือ วิธีการบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ที่เน้นการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของผลงานของภาครัฐ และปรับปรุงการบริการแก่ประชาชน และการบริการด้านข้อมูลเพื่อเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับรัฐมากขึ้น โดยการใช้เทคโนโลยีจะนำมาใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพของการเข้าถึง และการให้บริการของรัฐ โดยมุ่งเป้าหมายไปที่กลุ่มคน 3 กลุ่มคือ ประชาชน ภาคธุรกิจ และข้าราชการ
หากเทียบ E-Commmerce แล้ว E-Goverment คือ G-to-G1 Transaction และมีลักษณะเป็น intranet มีระบบความปลอดภัย
ในขณะที่ E-Service เทียบได้กับ B-to-G2 และ G-to-C3 Transaction ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อในการให้บริการ โดยภาคธุรกิจกับประชาชนคือผู้รับบริการ
E-Govenment กับ E-Service มีความเกี่ยวพันกันมาก E-Govenment เป็นพื้นฐานของ E-Service เพราะการให้บริการของรัฐต่อประชาชนนั้น มีความจำเป็นที่จะต้องมีเครือข่ายภายในระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเองที่มีความปลอดภัย และทำให้องค์กรสามารถแลกเปลี่ยนสารสนเทศกันได้
เป้าหมายปลายทางของ E-Govenment ไม่ใช่การดำเนินการเพื่อรัฐ แต่หากผลประโยชน์สูงสุดของการเป็น E-Govenment คือ ประชาชนและภาคธุรกิจ

หลัก E-Govenment จะเป็นแบบ G2G G2B และ G2C
ระบบต้องมีความมั่นคงปลอดภัย เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานของรัฐ ประชาชนอุ่นใจในการรับบริการของรัฐ ธุรกิจก็สามารถดำเนินการค้าขายกับหน่วยงานของรัฐด้วยความราบรื่น

G2C รัฐ กับ ประชาชน
เป็นการให้บริการของรัฐสู่ประชาชนโดยตรง โดยที่บริการดังกล่าวประชาชนจะสามารถดำเนินธุรกรรมโดยผ่านเครือข่ายสารสนเทศของรัฐ โดยที่การดำเนินการต่างๆนั้น จะต้องเป็นการทำงานแบบ Online และ Real Time มีการรับรองและการโต้ตอบที่มีปฏิสัมพันธ์
G2B รัฐ กับ เอกชน
เป็นการให้บริการของภาคธุรกิจเอกชน โดยที่รัฐจะอำนวยความสะดวกต่อภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมให้สามารถแข่งขันกันโดยความเร็วสูง มีประสิทธิภาพ และมีข้อมูลที่ถูกต้องอย่างเป็นธรรมและโปร่งใส
G2G รัฐ กับ รัฐ
เป็นรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปมากของหน่วยราชการ ที่การติดต่อสื่อสารระหว่างกันโดยกระดาษและลายเซ็นต์ในระบบราชการเดิม จะมีการเปลี่ยนแปลงไปใช้ระบบเครือข่ายสารสนเทศ และลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างเป็นทางการเพื่อเพิ่มความเร็วในการดำเนินงาน ลดระยะเวลาในการส่งเอกสารและข้อมูลระหว่างกัน
G2E รัฐ กับ ข้าราชการและพนักงานของรัฐ
เป็นการให้บริการที่จำเป็นของพนักงานของรัฐ Employee กับรัฐบาล โดยที่จะสร้างระบบเพื่อช่วยให้เกิดเครื่องมือที่จำเป็นในการปฏิบัติงานและการดำรงชีวติ เช่น ระบบสวัสดิการ ระบบที่ปรึกษาทางกฎหมายและข้อบังคับในการปฏิบัติงาน
ตัวอย่างโครงการ


ระบบ E-Tending
ระบบการยื่นประมูลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นระบบการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่มีมูลค่าสูง กระบวนการสลับซับซ้อน การจัดซื้อจัดจ้างโดยอาศัยวิธีการประกวดราคาตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ
ระบบ E-Purchasing
ระบบการจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์ แบ่งออกเป็น 2 ระบบย่อย
1. ระบบ E-Shopping ระบบการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่มีมูลค่าไม่สูง กระบวนการสลับซับซ้อนไม่มาก ระบบนี้จะมีความคุ้มทุนก็ต่อเมื่อมีความถี่ในการซื้่อสินค้าบ่อยครั้ง หน่วยงานรัฐที่เข้าร่วมโครงการต้องเป็นหน่วยงานขนาดใหญ่ รวมกลุ่มของหน่วยงานภาครัฐเข้าด้วยกัน
2. ระบบ E-Auction เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างและบริการที่มีมูลค่าสูงหรือปริมาณมาก และมีกระบวนการดำเนินงานที่ไม่สลับซับซ้อนมากนัก


ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น