วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

สรุปบทที่9

E-Goverment
   การก้าวไปสู่ E-Goverment จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการทำงาน และการให้บริการของภาครัฐ  เพื่อให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นกว่าเดิม ประเทศต่างๆทั่วโลกได้ให้ความสำคัญกับการก้าวไปสู่การเป็น E-Goverment และมีกาประกาศเป็นนโยบายอย่างเป็นทางการ
   สำหรับในประเทศไทย ได้มีการกล่าวถึงตั้งแต่ในกฎหมายสูงสุดของประเทศ คือ รัฐธรรมนูญฯ ในมาตรา 78 หรือ แผนสภาพัฒน์ฯ ฉบับที่ 8  ที่กล่าวถึงการนำไอทีมาใช้เพื่อเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานของรัฐกับภาคเอกชน เพื่อการบริหารและการบริการที่มีประสิทธิภาพ  นอกจากนี้ แผนไอทีแห่งชาติเองก็ระบุว่า หน่วยงานของรัฐต้องลงทุนให้พร้อมด้วยไอทีและบุคคลากรที่มีศักยภาพในการใช้ไอที

ความหมาย E-Goverment
    E-Goverment หรือ รัฐอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วยหลักการที่เป็นแนวทาง 4 ประการ คือ
1. สร้างบริการตามความต้องการของประชาชน
2. ทำให้รัฐและการบริการของรัฐเข้าถึงได้มากขึ้น
3. เกิดประโยชน์แก่สังคมโดยทั่วกัน
4. มีการใช้สารสนเทศที่ดีกว่าเดิม

     E-Government คือ วิธีการบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ที่เน้นการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของผลงานของภาครัฐ และปรับปรุงการบริการแก่ประชาชน และการบริการด้านข้อมูลเพื่อเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับรัฐมากขึ้น  โดยการใช้เทคโนโลยีจะนำมาใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพของการเข้าถึง และการให้บริการของรัฐ  โดยมุ่งเป้าหมายไปที่กลุ่มคน 3 กลุ่มคือ  ประชาชน ภาคธุรกิจ และข้าราชการ
     หากเทียบ E-Commmerce แล้ว E-Goverment คือ G-to-G1 Transaction และมีลักษณะเป็น intranet มีระบบความปลอดภัย

     ในขณะที่ E-Service เทียบได้กับ B-to-G2 และ G-to-C3 Transaction ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อในการให้บริการ โดยภาคธุรกิจกับประชาชนคือผู้รับบริการ

     E-Govenment กับ E-Service มีความเกี่ยวพันกันมาก  E-Govenment เป็นพื้นฐานของ E-Service เพราะการให้บริการของรัฐต่อประชาชนนั้น มีความจำเป็นที่จะต้องมีเครือข่ายภายในระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเองที่มีความปลอดภัย  และทำให้องค์กรสามารถแลกเปลี่ยนสารสนเทศกันได้  
 
     เป้าหมายปลายทางของ E-Govenment ไม่ใช่การดำเนินการเพื่อรัฐ แต่หากผลประโยชน์สูงสุดของการเป็น E-Govenment คือ ประชาชนและภาคธุรกิจ



หลัก E-Govenment จะเป็นแบบ G2G  G2B และ G2C 
     ระบบต้องมีความมั่นคงปลอดภัย  เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานของรัฐ  ประชาชนอุ่นใจในการรับบริการของรัฐ  ธุรกิจก็สามารถดำเนินการค้าขายกับหน่วยงานของรัฐด้วยความราบรื่น 


G2C รัฐ กับ ประชาชน

      เป็นการให้บริการของรัฐสู่ประชาชนโดยตรง  โดยที่บริการดังกล่าวประชาชนจะสามารถดำเนินธุรกรรมโดยผ่านเครือข่ายสารสนเทศของรัฐ   โดยที่การดำเนินการต่างๆนั้น จะต้องเป็นการทำงานแบบ Online และ Real Time มีการรับรองและการโต้ตอบที่มีปฏิสัมพันธ์

G2B รัฐ กับ เอกชน
      เป็นการให้บริการของภาคธุรกิจเอกชน โดยที่รัฐจะอำนวยความสะดวกต่อภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมให้สามารถแข่งขันกันโดยความเร็วสูง  มีประสิทธิภาพ  และมีข้อมูลที่ถูกต้องอย่างเป็นธรรมและโปร่งใส

G2G รัฐ กับ รัฐ
    เป็นรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปมากของหน่วยราชการ  ที่การติดต่อสื่อสารระหว่างกันโดยกระดาษและลายเซ็นต์ในระบบราชการเดิม  จะมีการเปลี่ยนแปลงไปใช้ระบบเครือข่ายสารสนเทศ  และลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างเป็นทางการเพื่อเพิ่มความเร็วในการดำเนินงาน  ลดระยะเวลาในการส่งเอกสารและข้อมูลระหว่างกัน  

G2E รัฐ กับ ข้าราชการและพนักงานของรัฐ

     เป็นการให้บริการที่จำเป็นของพนักงานของรัฐ Employee กับรัฐบาล  โดยที่จะสร้างระบบเพื่อช่วยให้เกิดเครื่องมือที่จำเป็นในการปฏิบัติงานและการดำรงชีวติ เช่น ระบบสวัสดิการ ระบบที่ปรึกษาทางกฎหมายและข้อบังคับในการปฏิบัติงาน

ตัวอย่างโครงการ



ระบบ E-Tending

     ระบบการยื่นประมูลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นระบบการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่มีมูลค่าสูง  กระบวนการสลับซับซ้อน  การจัดซื้อจัดจ้างโดยอาศัยวิธีการประกวดราคาตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ



ระบบ E-Purchasing 
     ระบบการจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์ แบ่งออกเป็น 2 ระบบย่อย

1. ระบบ E-Shopping ระบบการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่มีมูลค่าไม่สูง  กระบวนการสลับซับซ้อนไม่มาก  ระบบนี้จะมีความคุ้มทุนก็ต่อเมื่อมีความถี่ในการซื้่อสินค้าบ่อยครั้ง  หน่วยงานรัฐที่เข้าร่วมโครงการต้องเป็นหน่วยงานขนาดใหญ่  รวมกลุ่มของหน่วยงานภาครัฐเข้าด้วยกัน


2. ระบบ E-Auction เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างและบริการที่มีมูลค่าสูงหรือปริมาณมาก  และมีกระบวนการดำเนินงานที่ไม่สลับซับซ้อนมากนัก






สรุปบทที่8

e-Procurement หมายถึง การทางานในแต่ละขั้นตอนของระบบ ข้อมูลจะถูกจัดส่งและจัดเก็บไปในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งข้อมูลเหล่านี้พร้อมที่จะถูกนาไปวิเคราะห์ต่อไป โดยข้อมูลครอบคลุมตั้งแต่การค้นหาและเลือกสินค้าจาก e-Catalog การออกใบขอสั่งซื้อ การรับและการอนุมัติใบขอสั่งซื้อ การออกใบสั่งซื้อ การติดตามการสั่งซื้อ การตรวจรับสินค้าและการชาระเงิน ข้อมูลในแต่ละขั้นตอนจะถูกถ่ายทอดไปอย่างต่อเนื่องจนจบกระบวนการ โดยไม่ต้องใช้เอกสารที่เป็น Manual เลย ทาให้มีความรวดเร็ว ถูกต้องแม่นยา และเกิดความโปร่งใส และที่สำคัญข้อมูลจะถูกถ่ายทอดไปยังส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องส่งผลให้เกิดการประสานงานอย่างสอดคล้องภายองค์กรและระหว่างองค์กรกับผู้ขายอีกด้วย

วัตถุประสงค์ในการพัฒนาระบบ e-Procurement ในประเทศไทย

  • ความมีประสิทธิภาพ (efficiency) จากการจัดซื้อสินค้าหรือบริการได้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้
  • ความพร้อมรับผิดชอบ (Accountability) เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบระบบจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐควรต้องมี ความรับผิดชอบต่อการตัดสินใจของตน
  • ความโปร่งใส (Transparency) โดยกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างต้องเป็นกระบวนการที่เปิดเผยต่อสาธารณะ
  • ความคุ้มค่า (Value for Money) เพื่อลดปัญหาที่หน่วยงานรัฐมักซื้อสินค้าหรือบริการในราคาที่แพงกว่าของภาคเอกชน

ประโยชน์ของการพัฒนาระบบ e-Procurement

  • เอกสารการยื่นประกวดราคา คำชี้แจงและคำอธิบาย และข้อมูลการตัดสิน ผลการประกวดราคาของโครงการต่างๆ ที่ผ่านการคัดเลือกไปแล้วมีความชัดเจนและครบถ้วน
  • การกระจายข้อมูลไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องฝ่ายต่างๆ 
  • การเพิ่มความสามารถของระบบให้สูงขึ้น เพื่อให้เกิดบริการมูลค่าเพิ่มต่างๆ 

ขั้นตอนของระบบ e-Procurement


  • ค้นหาสินค้า/บริการที่จะซื้อผ่าน E-Catalog
  • เลือกหมวดสินค้าที่ต้องการจะซื้อผ่าน E-Shopping List
  • จัดประกาศเชิญชวนผ่าน Web Site
  • ผู้ขายเสนอคุณสมบัติของสินค้าทางอินเทอร์เน็ต E-RFP
  • ผู้ซื้อตรวจสอบราคากลาง E-RFQ และ Track Record ของผู้ขาย
  • ประมวลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ E-Auction
  • จ่ายเงินตรงด้วยระบบ E-Payment
  • องค์ประกอบของระบบ e-Procurement
  •           ระบบ e-Catalog เป็นมาตรฐานระบบ Catalog ที่รวบรวมรายละเอียดของสินค้าและบริการ ซึ่งอำนวยความสะดวกให้ผู้ค้า/ผู้รับจ้าง มีคุณสมบัติในการทำธุรกรรมสามารถเข้ามาทำการแจ้งและปรับปรุงรายการสินค้า/บริการของตนเองได้
  •        ระบบ e-RFP (Request for Proposal) และ e-RFQ (Request for Quotation) เป็นระบบที่อำนวยความสะดวกในขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างทางอิเล็กทรอนิกส์โดยวิธีการสอบราคหรือวิธีการตกลงราคา
  •           ระบบ e-Auction แบ่งเป็น 2 ส่วนได้แก่
    • Reverse Auction เป็นระบบที่อำนวยความสะดวกในด้านการประมูลซื้อให้ได้ราคาต่ำสุด
    • Forward Auction เป็นระบบที่อำนวยความสะดวกในด้านการประมูลขาย ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้การจำหน่ายพัสดุที่หมดความจำเป็นของน่วยงานภาครัฐโดยวิธีขายทอดตลาด
    •      ระบบ e-Data Exchange เป็นระบบการเชื่อมโยงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้ค้า เช่น การตรวจสอบควมเป็นนิติบุคคล การส่งข้อมูลในการตรวจสอบจำนวนเงินงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรจากสำนักงบประมาณ

      ข้อดีของ e-Procurement ในด้านของผู้ขาย

      • เพิ่มปริมาณการขาย
      • ขยายตลาดแบะได้รับลูกค้ากลุ่มใหม่
      • ดำเนินการบริหารการขาย และกิจกรรมทางการตลาดในต้นทุนต่ำ
      • เวลาของกระบวนการสั้นลง
      • พัฒนาให้พนักงานมีประสิทธิภาพดีขึ้น
      • กระบวนการประมูลเป็นไปในทางทิศเดียวกัน
      ขั้นตอนของระบบ e-Procurement
      1. ค้นหาสินค้า/บริการที่จะซื้อผ่าน E-Catalog
      2. เลือกหมวดสินค้าที่ต้องการจะซื้อผ่าน E-Shopping List
      3. จัดประกาศเชิญชวนผ่าน Web-Site
      4. ผู้ขายเสนอคุณสมบัติของสินค้าทางอินเตอร์เน็ต (E-RFP)
      5. ผู้ซื้อตรวจสอบราคากลาง (E-RFQ) และ Track Record ของผู้ขาย
      6. ประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Auction)
      7. ประกาศผล ผู้ชนะและส่งมอบ/ตรวจรับพัสดุ
      8. จ่ายเงินตรงด้วยระบบ E-Payment

      องค์ประกอบของระบบ e-Procurement
      ระบบ e–Catalog
      ระบบ e-RFP (Request for Proposal) / e-RFQ (Request for Quotation)
      ระบบ e– Auction
      ระบบ e-Data Exchange
      Website ศูนย์ข้อมูลจัดซื้อจัดจ้าง
      e-Market Place Service Provider

      ข้อดีของ e-procurement ในด้านของผู้ซื้อ
      กำหนดและสร้างพันธมิตรกับผู้ผลิตรายใหม่ได้ทั่วโลก
      ความสัมพันธ์กับพันธมิตรเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทาให้มีอำนาจและต่อรองทางธุรกิจมากขึ้น
      ลดการกระจายสารสนเทศ
      สามารถส่งรูปภาพไปให้ผู้ผลิตหลาย ๆ แห่งในเวลาเดียวกัน
      ลดเวลาและค่าใช้จ่ายของกระบวนการ
      ได้รับการประมูลจากผู้ผลิตหลายรายเร็วขึ้น และทาให้การเจรจาต่อรองได้ผลดีกว่า

      ข้อดีของ e-procurement ในด้านของผู้ขาย
      เพิ่มปริมาณการขาย
      ขยายตลาด และได้รับลูกค้ากลุ่มใหม่
      ดำเนินการบริหารการขาย และกิจกรรมทางการตลาดในต้นทุนต่ำ
      เวลาของกระบวนการสั้นลง
      พัฒนาให้พนักงานมีประสิทธิภาพดีขึ้น
      กระบวนการประมูลเป็นไปในทิศทางเดียวกัน 



ระบบ e– Auction

แบ่งเป็น 2 ส่วนได้แก่
ส่วนที่ 1 Reverse Auction เป็นระบบที่อำนวยความสะดวกในด้านการประมูลซื้อให้ได้ในราคาต่ำสุด ซึ่ง

จะใช้วิธีนี้ในกรณีที่สินค้า/บริการที่ต้องการจัดซื้อหรือจัดจ้าง ต้องใช้วิธีการประมูล ระบบนี้จะรับข้อมูลของผู้ค้าที่ได้รับการคัดเลือกจากระบบ e-RFP / e-RFQ มาดำเนินการประมูลผ่านทาง Internet แบบ Real-time ตามวันและเวลาที่กำหนด โดยการประมูลจะมี 2 แบบ คือ
English Reverse Auction เป็นการประมูลที่ผู้ซื้อจะทราบสถานะของ การประมูลว่าผู้ที่เสนอราคาต่ำสุด เสนอราคาเท่าไร แต่ผู้เข้าประมูลจะไม่ทราบชื่อของผู้เข้าประมูลรายอื่น ๆ
Sealed Bid เป็นการประมูลที่ผู้ซื้อจะไม่ทราบสถานะของการประมูลและ ราคาต่ำสุดของผู้ยื่นประมูล การยื่นข้อเสนอราคาแบบ Sealed Bidแบ่งเป็น 2 แบบ คือ แบบยื่นข้อเสนอได้เพียงครั้งเดียว และยื่นข้อเสนอได้หลายครั้งภายในระยะเวลาที่กำหนด


ส่วนที่ 2 Forward Auction เป็นระบบที่อำนวยความสะดวกในด้านการประมูลขาย ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้กับการจำหน่ายพัสดุที่หมดความจำเป็นของหน่วยงาน ภาครัฐโดยวิธีขายทอดตลาด ซึ่งเป็นการประมูลขายแบบผู้ชนะ คือ ผู้ที่เสนอราคาสูงสุด

สรุปบทที่7



Supply Chain Management หรือ การจัดการกลุ่มของกิจกรรมงาน กล่าวคือ ตั้งแต่การรับวัตถุดิบมาจาก Supplies แล้วเปลี่ยนวัตถุดิบนั้นให้เป็นสินค้าขั้นกลาง และสินค้าขั้นสุดท้าย จนกระทั่งจัดส่งสินค้าให้แก่ลูกค้า


สิ่งที่จะทำให้เข้าใจถึงหน้าที่ของการผลิตและวิธีการควบคุมการผลิตนั้น  เราจะต้องเข้าใจในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวในกระบวนการผลิตอยู่ 2 สิ่งหลักๆ ได้แก่

     1. วัตถุดิบ  Materials

     2. สารสนเทศ  Information


จากรูป จะเห็นว่าในทุกๆกระบวนการผลิต จะมีการเคลื่อนไหวของวัตถุดิบ และ สารสนเทศในทุกกระบวนการ

     ปัญหา คือ ความสนใจที่แตกต่างกันของผู้ที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น
     - ลูกค้ามักต้องการสินค้าที่ถูกต้อง  สมบูรณ์แบบ และราคาถูก
     - พนักงานในสายการผลิตอยากรู้คำสั่งที่ถูกต้อง
     - ฝ่ายจัดซื้อต้องการได้วัตถุดิบที่ถูกต้อง มีคุณภาพ
     - ผู้จำหน่ายวัตถุดิบต้องการคำสั่งซื้อที่ถูกต้อง เพื่อจะได้จัดส่งสินค้าได้ถูกต้อง
     - ผู้จัดการต้องการรายงานที่ถูกต้อง



     จากรูป  แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของ SCM ซึ่งมีผลตอบรับในด้านต่างๆ ดังนี้

ประโยชน์ของการทำ  SCM  
-                   การเคลื่อนไหลของวัตถุดิบและสารสนเทศเป็นไปอย่างราบรื่น
-                   ปรับปรุงระดับของสินค้าคงเหลือ
-                   เพิ่มความเร็วได้มากขึ้น
-                   ขจัดความสิ้นเปลืองหรือความสูญเปล่าต่างๆ ในกระบวนการทางธุรกิจให้หมดไปได้
-                   ลดต้นทุนในกิจกรรมต่างๆ ได้
-                   ปรับปรุงการบริการลูกค้า
การบูรณาการในห่วงโซ่อุปทาน- การบูรณาการภายในธุรกิจ ให้เป็นแบบไร้รอยตะเข็บ ไร้ความสูญเสีย และมีความยืดหยุ่น- การบูรณาการภายนอก กับกระบวนการของลูกค้าที่สำคัญและผู้จัดหาวัตถุดิบที่สำคัญให้เข้ากับกระบวนการภายในของบริษัทอย่างมีประสิทธิภาพ และไร้รอยตะเข็บ- การบูรณาการทางเทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ เพื่อให้การแลกเปลี่ยนและประสานข้อมูลข่าวสารภายในองค์กรและระหว่างองค์กรเป็นไปอย่างถูกต้อง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ      เทคโนโลยีที่นิยมใช้ ได้แก่ E-Business, EDI-Electronic Data Interchange, Bar Code, E-Mail เป็นต้น Value Chain ห่วงโซ่คุณค่า 
  การนำระบบสารสนเทศมาใช้ในการจัดการด้าน Supplr Chain     
           Supply Chain Management คือ การรจัดการเชื่อมกิจกรรมต่างๆที่สัมพันธ์กันระหว่างผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย และลูกค้า      กลยุทธ์ด้าน Supply Chain ได้แก่ ความพยายามที่จะผูกลูกค้า ผู้ผลิต หรือผู้จัดจำหน่ายกับธุรกิจ เรียกว่า Lock-in Customers หรือ Lock-in Suppliers เพื่อให้เกิดค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนไปทำธุรกิจกับผู้อื่่นมีสูงขึ้น 


Supply Chain Managenment

    เป็นระบบที่จัดการการบริหารและเชื่อมโยงเครือข่ายตั้งแต่ Suppliers, Manufacturers และ Distributors เพื่อส่งมอบสินค้าหรือบริการให้ลูกค้าโดยมีการเชื่อมโยงระบบข้อมูล วัตถุดิบ สินค้าและบริการ เงินทุน รวมถึงการส่งมอบเข้าด้วยกัน เพื่อให้การส่งมอบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถส่งมอบได้ตรงตามเวลาและความต้องการ

ขั้นตอนวิวัฒนาการไปสู่ระบบการจัดการซัพพลายเชน
    กล่าวกันว่ามีต้นแบบมาจากการส่งลำเลียงเสบียงอาหารและอาวุธโยปกรณ์ตามระบบส่งกำลังบำรุงของทหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสงครามที่ต้องการความมั่นใจว่าอาวุธและเสบียงอาหารจะต้องส่งให้เรียบร้อยและเพียงพอกับความต้องการ และตรงเวลา เพื่อให้เกิดความสูญเสียน้อยที่สุด

   ต่อมา แนวความคิดดังกล่าวได้นำมาพัฒนาและดัดแปลงให้กับธุรกิจค้าและอุตสาหกรรมเพื่อมุ่งสร้างคุณค่าและความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าด้วยต้นทุนที่ลดลง
    Helen Peek และคณะ ได้กล่าวถึงระยะของการเปลี่ยนแปลงธุรกิจเพื่อเข้าสู่กระบวนการบริหารซัพพลายเชน 4 ระยะ คือ

ระยะที่ 1 องค์กรในรูปแบบพื้นฐาน The Baseline Organization เป็นรูปแบบการบริหารจัดการแบบดั้งเดิมที่ต้องการสร้างผลกำไรสูงสุดขององค์กร โดยเน้นความชำนาญในการทำงานของแต่ละแผนก ฝ่าย ซึ่งองค์กรในรูปแบบนี้ อาจะไม่สามารถปรับแผนการผลิตและการจัดหาวัสดุได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในตลาดของผู้บริโภค เนื่องจากแต่ละแผนต่างทำงานเป็นอิสระต่อกัน ไม่เกี่ยวกัน
ระยะที่ 2 องค์กรที่รวมหน้าที่ทางธุรกิจเข้าด้วยกัน The Functionally Integrated Company องค์กรจะเริ่มจัดตั้งเป็นบริษัท โดยมีการรวบรวมหน้าที่ ลักษณะงานที่เป็นประเภทเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันไว้ในกลุ่มงานเดียวกัน  ซึ่งจะไม่มีการแบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบออกจากกันอย่างเด็ดขาด
ระยะที่ 3 องค์กรที่รวมการดำเนินงานภายในธุรกิจไว้ด้วยกัน The Internally Integrated Company องค์กรมีการพัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างองค์กรของตนอย่างต่อเนื่องจากระยะที่ 2 โดยฝ่ายต่างๆมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน ทำให้มีการติดต่อประสานงานเชื่อมโยงระหว่างฝ่ายงานมากขึ้น  การทำงานจึงมีความต่อเนื่องกันเหมือนห่วงโซ่ 
ระยะที่ 4 องค์กรที่รวมการดำเนินงานภายนอกธุรกิจไว้ด้วยกัน The Externally Integrated Company เป็นระยะที่บริษัทก้าวเข้าสู่รูปแบบการบริหารแบบซัพพลายเชนอย่างเต็มตัว โดยมีการปรับโครงสร้างการบริหารแบบซัพพลายเชนในบริษัทของตนเองไว้เรียบร้อยแล้ว และเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับกลยุทธ์การบริหารลูกโซ่อุปทานภายนอก 

การบริหารจัดการซัพพลายเชน
        เป็นการจัดการที่ต้องอาศัยความร่วมมือของคู่ค้าที่เกี่ยวข้องในซัพพลายเชนเราเป็นสำคัญ องค์กรที่มีความรู้ในการบริหารจัดการดีควรต้องถ่ายทอดแนวคิดและวิธีการปรับปรุงระบบงานและการประสานงานระหว่างองค์กรให้แก่องค์กรอื่นๆในซัพพลายเชน
        นอกจากการประสานงานที่ดีแล้ว จะต้องพิจารณาความสามารถในการประสานงานระบบงานระหว่างองค์กรใน 3 ส่วนหลัก ได้แก่
1. ศักยภาพในการประสานงานระบบการจัดการระหว่างกลุ่ม เพื่อให้ระบบปฏิบัติการโดยรวมมีต้นทุนต่ำที่สุด
2. ศักยภาพในการประสานระบบการจัดการให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า เป็นระบบการบริหารจัดการเพื่อให้บริการที่มีคุณภาพ และการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า ทั้งก่อน ระหว่างและภายหลังการขาย เพื่อสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน
3. ศักยภาพในการประสานงานระบบการจัดการสารสนเทศ ระบบสื่อสารระหว่างองค์กรในซัพพลายเชนมีความสำคัญอย่างยิ่ง 

ปัญหาของการจัดการซัพพลายเชน
1. ปัญหาจากการพยากรณ์ การพยากรณ์เป็นสิ่งที่สำคัญมากในการจัดการซัพพลายเชน 
2. ปัญหาในกระบวนการผลิต ปัญหาที่เกิดขึ้นทำให้ไม่สามารถผลิตสินค้าได้ตามเวลาที่กำหนด
3. ปัญหาด้านคุณภาพ ส่งผลให้กระบวนการผลิตต้องหยุดชะงัก และไม่สามารถส่งมอบสินค้าให้แก่ลูกค้าได้ตามที่กำหนด
4. ปัญหาในการส่งมอบสินค้า ส่งมอบล่าช้าเกิดขึ้นได้ตั้งแต่เรื่องของวัตถุดิบ งานระหว่างทำ และสินค้าสำเร็จรูป
5. ปัญหาด้านสารสนเทศ สารสนเทศที่ผิดพลาดส่งผลกระทบต่อการจัดการโซ่อุปทาน ทำให้การผลิตและการส่งมอบสินค้าผิดไปจากที่กำหนดไว้ 
6. ปัญหาจากลูกค้า  เป็นความไม่แน่นอนอย่างหนึ่งของโซ่อุปทาน

ตัวอย่างปัญหาของการจัดการห่วงโซ่อุปทานที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เช่น  Bullwhip Effect คือ ปัญหาที่เกิดจากความแปรปรวนเล็กน้อยของความต้องการถูกนำมาขยาย เมื่อส่งข้อมูลกลับต้นทาง



เทคโนโลยีสารสนเทศในซัพพลายเชน
     เทคโนโลยีสารสนเทศที่ช่วยในการจัดการซัพพลายเชน การจัดระบบซัพพลายเชน ให้มีประสิทธิภาพนั้น มีองค์ประกอบที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการจัดการในเรื่องความต้องการของผู้บริโภคที่มีต่อสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆให้ใกล้เคียงกับความจริงมากที่สุด การจัดหาสินค้าและผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคอย่างรวดเร็วและมีคุณภาพ และความสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ขาดตลาด และที่สำคัญคือ การนำความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมาเป็นเครืองมือช่วยในการจัดการระบบซัพพลายเชน 

     ปัจจุบันเทคโนโลยีที่นิยมใช้ในระบบซัพพลายเชน ได้แก่
1. ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ E-business หรือบางครั้งเรียก พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ E-Commerce เป็นการใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ในกระบวนการทางธุรกิจและดำเนินงานระหว่างธุรกิจกับธุรกิจและระหว่างบุคคลกับธุรกิจ

2. การใช้บาร์โค้ด Barcode  หรือรหัสแท่ง เป็นสัญลักษณ์ที่อยู่ในรูปของแท่งบาร์  โดยประกอบไปด้วยบาร์ที่มีสีเข้มและช่องว่างสีอ่อน เป็นตัวแทนของตัวเลขและตัวอักษร สามารถอ่านได้ด้วยเครื่อง Scanner บาร์โค้ดทำหน้าที่ในการจัดเก็บข้อมูลต่างๆของสินค้า เช่น หมายเลขของสินค้า ครั้งที่ทำการผลิต เป็นต้น 

3. การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ EDI : Electronic Data Interchange เป็นเทคโนโลยีที่มีประโยชน์ต่อการจัดการซัพพลายเชน เป็นระบบถ่ายทอดข่าวสารข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งในรูปสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ 

4. การใช้ซอฟต์แวร์ Application SCM การนำซอฟร์แวร์มาพัฒนาและประยุกต์ใช้งานในปัจจุบัน เช่น ERP : Enterprice Resource Planning เป็นซอฟต์แวร์ที่จัดเป็นระบบศูนย์กลางขององค์กรทั้งหมด ทำหน้าที่ ประสานงานหลักๆในด้านต่างๆ ,  Advance Planning and Scheduling จัดสร้างแผนการผลิตและจัดตารางเวลาโรงงานการผลิต เป็นต้น

        อย่างไรก็ตาม ความร่วมมือกันบริหารงานในระดับซัพพลายเชน ต้องมีกลไกร่วมคิดร่วมพัฒนาระหว่างองค์กรอย่างต่อเนื่อง ความเข้าใจและการผลักดันของผู้บริหารระดับสูงของทุกองค์กรมีความสำคัญยิ่ง การจัดตั้งทีมงานร่วม ที่จะประกอบไปด้วยผู้ที่มีความรู้ความสามารถจากทุกองค์กรในซัพพลายเชนมาร่วมกันวางแผนหาจุดอ่อน และพัฒนาระบบโลจิสติกในภาพรวม จะช่วยกันสร้างความร่วมมือระหว่งกันได้อย่างรวดเร็วและเป็นรูปธรรม 


    The Minor Group นำเอากลยุทธ์ Supply Chain Management มาช่วยในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ประกอบด้วย 4 ระบบหลักๆ ได้แก่
1. ระบบ ERP (Enterprise Resource Planning)

     เป็นเทคโนโลยีบริหารกระบวนการธุรกิจโดยเฉพาะการเชื่อมโยง SCM โดยเน้นการบูรณาการกระบวนการหลักของธุรกิจเพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกรรมประจำวัน และยังสนับสนุนกระบวนการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ (CRM) ด้วยการใช้สารสนเทศระหว่างพนักงานขายและฝ่ายปฏิบัติงาน ซึ่งสารสนเทศหลักประกอบด้วย ประวัติการขาย การจัดส่ง สถานะคำสั่งซื้อ เป็นต้น โดยสารสนเทศดังกล่าวจะช่วยให้ระบบ CRM สามารถคาดการณ์ความต้องการลูกค้าและการวางแผนกิจกรรมส่งเสริมการขาย  ซึ่งระบบ
ERP ที่ ไมเนอร์ กรุ๊ป เลือกนำมาใช้ คือ โปรแกรม ORACLE ซึ่งเป็นโปรแกรมที่รวบรวมงานหลักต่างๆ ได้แก่ การจัดจ้าง การผลิต การขาย การบัญชี และการบริหารงานบุคคล เข้าด้วยกัน ซึ่งจะทำให้เกิดการเชื่อมโยงกันอย่าง Real-Time ผ่านการเชื่อมต่อกับเครือข่ายท้องถิ่น (LAN)


2 ระบบ POS (Point of Sale)    
3. ระบบ Barcode
     ทุกครั้งทีมีการซื้อขายหน้าร้านทุกสาขาทั่วประเทศ ระบบ POS ของแต่ละสาขาจะส่งข้อมูลการขายสินค้าส่งกลับไปยังเซิร์ฟเวอร์ที่สำนักงานใหญ่ เมื่อทางสำนักงานใหญ่รวบรวมข้อมูลการขายสินค้าต่างๆของแต่ละสาขาแล้ว จะทำการเปิดใบสั่งซื้อไปยังซัพพลายเออร์ผ่านระบบออนไลน์ให้กับซัพพลายเออร์รายย่อย  และส่งให้ทางซัพพลายแออร์ผู้ผลิตและจัดส่งสินค้ามายังศูนย์กระจายสินค้า ก่อนที่ศูนย์กระจายสินค้าจะทำหน้าที่คัดแยกสินค้าและจัดส่งไปยังสาขาทั่วประเทศ  โดยสินค้านั้นจะใช้ Barcode เพื่อเก็บข้อมูลรายละเอียดสินค้า เพราะจะทำให้บริษัททราบถึงข้อมูลรายละเอียดสินค้าผ่านรหัสใน Barcode
4. ระบบ CRM (Customer Relationship Management)
      เป็นกลยุทธ์ทางการตลาดอย่างหนึ่งที่องค์กรนำมาใช้เพื่อบริหารความสัมพันธ์ของลูกค้ากับองค์กรตลอดวงจรชีวิตการเป็นลูกค้า ได้แก่ การตลาด การขาย การให้บริการ และการสนับสนุนโดยใช้ทรัพยากรด้านสารสนเทศ กระบวนการ เทคโนโลยี และบุคลากร โดยเน้นการสร้างประสานสัมพันธ์กับลูกค้า หรือ demain chain management ผ่านการจัดโปรแกรม เพื่อจูงใจลูกค้า เช่น การสะสมคะแนน การให้บริการตอบคำถาม (call center) การให้สิทธิประโยชน์ หรือส่วนลดต่างๆ เป็นต้น